วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   19/กค/2556
ครั้งที่ 6
เวลาเข้าสอน 13.10  เวลาเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีดังนี้ค่ะ
1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill  Approch)
- ให้ด็กรู้จักส่วนย่อยๆของ
- การประสมคำ
-ความหมายของคำ
-นำคำประกอบเป็นประโยค
-การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน
เช่น  กอ-อา-กา
        ขอ-อา-ขา
ซึ่งจากที่เราเรียนมานั้น
 * ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
* ไม่สอดคล้องกับลักษณการเรียนรู้ของเด็ก

                                                       Kenneth  Goodman
-เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
-มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
-แนวทางการสอนมีพัฒนามาจากการเรียนรู้ และ ธรรมชาติของเด็ก
 ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
-สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
-ช่างสงสัย  ช่างซักถาม
-มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
-เลียนแบบคนรอบตัว
2. การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole  Language )
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
Dewey/Piaget/ Vygotsky/ Haliday
-เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และลงมือกระทำ
-เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการใช้สัมผัสจับต้องกับสิ่ง่างๆแล้วสร้างความรู้นั้นมาด้วยตนเอง
-อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาธรรมชาติ
-สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม
-สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
-สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
-สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
-ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
-ไม่บังคับให้เด็กเขียน
หลักการการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (นฤมน  เนียมหอม 2540)
1. การจัดสภาพแวดล้อม
-ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
-หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์ในตัว
เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
-เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
-เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
-เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3.การเป็นแบบอย่าง
-ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
-เด็กเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4.การตั้งความคาดหวัง
-ครูเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
-เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5.การคาดคะแน
-เด็กมีโอกาสที่ทดลองกับภาษา
-เด็กได้คาดเดา หรือ คาดคะแนคำที่จะอ่าน
-ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
-ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
-เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
-เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
-ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
-ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
-ให้เด็กรู้จักปลอดภัยที่ใช้ภาษา
-ครูจต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จำขอความช่วยเหลือ
-ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
-เด็กมีความเชื่อมันว่าตนมีความสามารถ

ผู้ถ่ายทอดความรู้-----> ผู้อำนวยการ----->ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก

บทบาทของครู
-ครูไม่ควรคาดหวังกับเด็กเพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
-ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน  การเขียน ให้กับเด็ก
-ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องของเด็ก เด็กอาจจะพูดผิด เขียนผิด ครูควรค่อยๆสอน
ไม่ควรตำหนิเด็ก
-ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์

การนำไปใช้  ทำให้เรารู้และเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัยว่าเด็กปฐมวัยมีความอยากรู้อยากเห็น อยากถาม ขี้สงสัย ครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กและมีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมกับวัย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  12/ก./56
ครั้งที่ 5

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย จึงขาดเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   5/ก.ค/2556
ครั้งที่ 4
เวลาเข้าสอน 13.10   เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40


             วันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัด Present  งานกลุ่มมีทั้งหมด 10 กลุ่มที่วันนี้จะมา Present งานค่ะ

กลุ่มที่ 1  เป็นกลุ่มของดิฉันเองได้ทำตัดต่อวีดีโอมา Present ให้เพื่อนๆดูได้หัวข้อเกี่ยวกับภาษา
               ความหมายของภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารและภาษาเป็นสื่อที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ไปถ่ายทำที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีน้องมิเชลน้องลูกแก้วนั่งอยู่ด้วยกันจึงขอให้น้องๆให้ลองร้องเพลงให้ฟัง น้องร้องเพลง ABC  ส่วนน้องลูกแก้วนับเลข     1-10  เป็นภาษาอังกฤษให้ฟัง พอร้องเสร็จน้องก็เดินไปเล่นกับเพื่อนๆพวกเราจึงพากันตามไปให้กลุ่มเพื่อนน้องมิเชลและน้องลูกแก้วร้องเพลงให้ฟังหน่อย แล้วพวกเด็กๆจึงพากันร้องเพลงฝนพร้อมกันบางคนร้องตะโกนเสียงดังบางคนร้องเสียงเบาแล้วก็ทำท่าประกอบด้วย

กลุ่มที่  2  นำเสนอ Power point  นำเสนอทฤษฎีทางภาษาของ Chomsky เพียเจต์ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาการผ่านการเล่น จอห์น ดิวอี้ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ไวกอสกี้ ฮอลลิเดย์ และ กู๊ดแมน

กลุ่มที่ 3  ได้นำเสนอ Power point  เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญา พูดถึงเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแรกเกิด (0 - 2 ขวบ) การจดจำใบหน้า เรียนแบบการพูด
อายุ 6 สัปดาห์  ทารกจะยิ้มไล่หลัง
อายุ 8 สัปดาห์  จะสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสีสรรค์สดใส
อายุ 3 เดือน      มองของเล่นที่แขวนข้างบน
อายุ 4 เดือน      จะแสดงการตื่นเต้น
อายุ 5 เดือน      จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผิดปกติ กลัว การแสดงออกทางสีหน้า
อายุ 6 เดือน      จะสนใจกระจกเงา
อายุ 8 เดือน       เริ่มรู้จักชื่อของตัวเอง
อายุ 9 เดือน      จะแสดงความปรารถนา
อายุ 10 เดือน     เริ่มตบมือ
อายุ 11 เดือน    สนใจการเรียนรู้
อายุ 12 เดือน    พยายามทำให้เราหัวเราะ
อายุ 15 เดือน    แสดงให้เราเห็นว่าเขาทำอะไรได้เอง
อายุ  21 เดือน   เขาจะเรียกให้เดินมาดุสิ่งที่ทำ
อายุ 24 ปี          โลกส่วนตัวสูง
        จากนั้นเพื่อนก็มีคลิปวีดิโอเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย สรุปว่า การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างนั้น มีความสำคัญมาก ทำให้เด็กรู้จักการเข้าสังคม รู้จักการปรับตัว คนรอบข้างพ่อ แม่ ควรจะพูดจายิ้มแย้ม พูดกับเด็กทารกบ่อยๆ

กลุ่มที่ 4  เพื่อนนำเสนอโดยวีดิโอเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเด็กอายุ 2 - 4 ปี จึงยกตัวอย่างนักทฤษฎีของเพียเจต์ เพียเจต์กล่าวว่า ควรปล่อยให้เด็กพัฒนาการตามขั้นไม่ควรเร่งรัดจนเกินไป

กลุ่มที่ 5  เด็กอายุ 4 - 6 ปี การรับรู้และการสังเกตจะดีมาก มีความอยากรู้อยากเห็น สงสัยเรื่องต่างๆ สนใจคำพูดของผู้ใหญ่ ชอบทำเลียนแบบผู้ใหญ่ เสนอคลิปวีดิโอโดยการพูดคุยกับเด็กวัย 3 ขวบ สัมภาษณ์เด็ก พาเด็กร้องเพลง

กลุ่มที่ 6 นำเสนอ Power point  เกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
         - มีแนวคิดจิตวิทยาการเรียนรู้
         - ความหมายทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
         - จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
         - องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
         - และมีคลิปวีดิโอสัมภาษณ์เด็กที่มากับผู้ปกครอง ชื่อน้องเจดีย์  น้องเจดีย์เป็นเด็กที่คุยเก่ง กล้าแสดงออก และเต้นโชว์

กลุ่มที่ 7  เพื่อนนำเสนอเรื่อง  วิธีการเรียยรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อนไปสัมภาษณ์เด็กที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยเพื่อนไปสังเกตุตอนที่เด็กกำลังเล่นกับเพื่อนๆและบริเวณหน้าห้องเรียนเห็นเด็กใส่รองร้องด้วยตัวเอง
สรุปว่า การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียน มีความสำคํญกับเด็กเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่นการเล่นทำให้เด็กได้สนุกสนานกับเพื่อนๆการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการสัมผัส  การได้จับ  และการเล่น

กลุ่มที่ 9  นำเสนอ Power point การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เรื่ององค์ประกอบด้านภาษาของเด็กปฐมวัย มีคลิปวีดิโอเด็กฝรั่งพูดภาษาอีสาน และคลิปวีดิโอรายการเด็กเป็นต้น

กลุ่มที่ 10  หลักการจัดประสบการณ์ นำ้เสนอเกี่ยวกับคลิปวีดิโอภาษาธรรมชาติของ ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  การคิด การเรียน การสอนแบบธรรมชาติ อย่าคาดหวังให้เด็กมีการเรียนรู้ที่เหมือนกัน เพราะเด็กมีความแตกต่างกัน ครูต้องบูรณาการทุกอย่างให้เข้ากัน การร่วมมือของทางบ้านและคุณครู ถ้าพื้นฐานการฟังดี การพูดก็จะดีขึ้น การอ่านการเขียนก็จะตามมา การยอมรับในสิ่งที่เด็กพูด เขียน ถึงแม้จะผิดต้องค่อยๆ สอน
  สรุป ภาษาของเด็กไม่มีขอบเขต ถ้าเด็กพูด เขียนไม่ถูกต้อง คุณครูห้ามตำหนิเพราะการเรียนอาจจะสะดุดได้

การนำไปใช้  ทำให้เรารู้และเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเด็กบางคนกล้าแสดงออกเด็กบางคนอายครูจึงต้องมีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กเป็นเด็กที่พร้อมในทุกๆด้านค่ะ




บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  28/มิ.ย/2556
ครั้งที่3

วันนี้เป็นวันรับน้องของมหาลัยจึงไม่มีการเรียนการสอนวันนี้จึงมีรูปภาพเกี่ยวกับกิจกรรมวันรับน้องมาให้ดูค่ะสนุกมากๆๆ














วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   21/มิ.ย/2556
ครั้งที่2   เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40

               วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องภาษาว่ามีความหมายอย่างไร ทักษะทางภาษามีอะไรบ้าง สอนเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget  และเรื่องพัฒนาการภาษาของเด็ก โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ภาษา  หมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคํญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา
การฟัง  การพูด  การอ่าน  การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget
การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาาาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้
1.(Assimilation) การดูดซึม
    เด็กได้รู้และดูดซึมภาพจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2.(Accommodation) การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
    เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับตัวความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
   เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับตัวความเข้าใจจะเกิดความสมดุล (Equilibrium) ทำให้กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

   Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 1 ปี
    - เรียนรู้จากประสาทสัมผัส
    - รู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
    - สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา

2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopentional Stage)
2.1 อายุ 2 - 4 ปี (Preconceptual Period)
   - เด็กเริ่้มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน

2.2 อายุ 4 -7 ปี (Intuitive Period)
   - ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับครอบครัว คนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
   - รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุสามารถเห็นความสัมพันธ์กับสิ่งของ

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7 - 11 ปี
   - แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม

4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational)  อายุ 11 - 15 ปี
   - คิดอย่างเป็นระบบ
   - ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
   - เข้าใจกฏเกณฑ์ทางสังคม
   - สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม

                                                  พัฒนาการภาษาของเด็ก
   เด็กจะค่อยๆ สร้างความรู้และเข้าใจ  เป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

                                                 จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม
    วัย  ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก

2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
    - อิทธิพลทางพันธุ์กรรม
    - อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม - ครอบครัว/การอบรมสั่งสอน

3. การจำ
   - การเห็นบ่อย ๆ
   - การทบทวนเป็นระยะ
   - การจัดเป็นหมวดหมู่
   - การใช้สัมผัส

4. การให้แรงเสริม
   - แรงเสริมทางบวก เช่น การชม การกอด เป็นต้น
   - แรงเสริมทางลบ เช่น กล่าวตักเตือนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

การนำไปใช้
ทำให้เรารู้และเข้าใจความสำคัญของภาษาและการเรียนรู้ของเด็กเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กและจิตวิทยาการเรียนรู้ว่าถ้าเด็กทำดี เราควรให้แรงเสริมกับเด็ก เช่น ให้คำชม  ให้ของรางวัล เพื่อเด็กจะได้มีกำลังใจในการทำดีและเด็กจะได้รู้ว่าสิ่งที่ตนกระทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องมีคนให้คำชมและเด็กก็จะกระทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป และการเสริมแรงทางลบเมื่อเด็กกระทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเม่อครูกล่าวตักเตือนเด็กรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเด็กก็จะไม่ทำพฤติกรรมนั้นอีก

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่1

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี 14 มิ.ย.2556
ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40

                       วันนี้อาจารย์บอกวิธีให้เกรด และให้ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ3 คน ให้ทำแผนผังความคิดเกี่ยวกับเรื่อง การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แล้วอาจารย์ก็ให้บางกลุ่มออกมาพรีเซนต์หน้าห้อง

แผนผังความคิดการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย