วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   5/ก.ค/2556
ครั้งที่ 4
เวลาเข้าสอน 13.10   เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40


             วันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัด Present  งานกลุ่มมีทั้งหมด 10 กลุ่มที่วันนี้จะมา Present งานค่ะ

กลุ่มที่ 1  เป็นกลุ่มของดิฉันเองได้ทำตัดต่อวีดีโอมา Present ให้เพื่อนๆดูได้หัวข้อเกี่ยวกับภาษา
               ความหมายของภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารและภาษาเป็นสื่อที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ไปถ่ายทำที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีน้องมิเชลน้องลูกแก้วนั่งอยู่ด้วยกันจึงขอให้น้องๆให้ลองร้องเพลงให้ฟัง น้องร้องเพลง ABC  ส่วนน้องลูกแก้วนับเลข     1-10  เป็นภาษาอังกฤษให้ฟัง พอร้องเสร็จน้องก็เดินไปเล่นกับเพื่อนๆพวกเราจึงพากันตามไปให้กลุ่มเพื่อนน้องมิเชลและน้องลูกแก้วร้องเพลงให้ฟังหน่อย แล้วพวกเด็กๆจึงพากันร้องเพลงฝนพร้อมกันบางคนร้องตะโกนเสียงดังบางคนร้องเสียงเบาแล้วก็ทำท่าประกอบด้วย

กลุ่มที่  2  นำเสนอ Power point  นำเสนอทฤษฎีทางภาษาของ Chomsky เพียเจต์ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาการผ่านการเล่น จอห์น ดิวอี้ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ไวกอสกี้ ฮอลลิเดย์ และ กู๊ดแมน

กลุ่มที่ 3  ได้นำเสนอ Power point  เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญา พูดถึงเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กแรกเกิด (0 - 2 ขวบ) การจดจำใบหน้า เรียนแบบการพูด
อายุ 6 สัปดาห์  ทารกจะยิ้มไล่หลัง
อายุ 8 สัปดาห์  จะสนใจเกี่ยวกับเรื่องของสีสรรค์สดใส
อายุ 3 เดือน      มองของเล่นที่แขวนข้างบน
อายุ 4 เดือน      จะแสดงการตื่นเต้น
อายุ 5 เดือน      จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผิดปกติ กลัว การแสดงออกทางสีหน้า
อายุ 6 เดือน      จะสนใจกระจกเงา
อายุ 8 เดือน       เริ่มรู้จักชื่อของตัวเอง
อายุ 9 เดือน      จะแสดงความปรารถนา
อายุ 10 เดือน     เริ่มตบมือ
อายุ 11 เดือน    สนใจการเรียนรู้
อายุ 12 เดือน    พยายามทำให้เราหัวเราะ
อายุ 15 เดือน    แสดงให้เราเห็นว่าเขาทำอะไรได้เอง
อายุ  21 เดือน   เขาจะเรียกให้เดินมาดุสิ่งที่ทำ
อายุ 24 ปี          โลกส่วนตัวสูง
        จากนั้นเพื่อนก็มีคลิปวีดิโอเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย สรุปว่า การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างนั้น มีความสำคัญมาก ทำให้เด็กรู้จักการเข้าสังคม รู้จักการปรับตัว คนรอบข้างพ่อ แม่ ควรจะพูดจายิ้มแย้ม พูดกับเด็กทารกบ่อยๆ

กลุ่มที่ 4  เพื่อนนำเสนอโดยวีดิโอเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเด็กอายุ 2 - 4 ปี จึงยกตัวอย่างนักทฤษฎีของเพียเจต์ เพียเจต์กล่าวว่า ควรปล่อยให้เด็กพัฒนาการตามขั้นไม่ควรเร่งรัดจนเกินไป

กลุ่มที่ 5  เด็กอายุ 4 - 6 ปี การรับรู้และการสังเกตจะดีมาก มีความอยากรู้อยากเห็น สงสัยเรื่องต่างๆ สนใจคำพูดของผู้ใหญ่ ชอบทำเลียนแบบผู้ใหญ่ เสนอคลิปวีดิโอโดยการพูดคุยกับเด็กวัย 3 ขวบ สัมภาษณ์เด็ก พาเด็กร้องเพลง

กลุ่มที่ 6 นำเสนอ Power point  เกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
         - มีแนวคิดจิตวิทยาการเรียนรู้
         - ความหมายทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
         - จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
         - องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
         - และมีคลิปวีดิโอสัมภาษณ์เด็กที่มากับผู้ปกครอง ชื่อน้องเจดีย์  น้องเจดีย์เป็นเด็กที่คุยเก่ง กล้าแสดงออก และเต้นโชว์

กลุ่มที่ 7  เพื่อนนำเสนอเรื่อง  วิธีการเรียยรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อนไปสัมภาษณ์เด็กที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยเพื่อนไปสังเกตุตอนที่เด็กกำลังเล่นกับเพื่อนๆและบริเวณหน้าห้องเรียนเห็นเด็กใส่รองร้องด้วยตัวเอง
สรุปว่า การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียน มีความสำคํญกับเด็กเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่นการเล่นทำให้เด็กได้สนุกสนานกับเพื่อนๆการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการสัมผัส  การได้จับ  และการเล่น

กลุ่มที่ 9  นำเสนอ Power point การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เรื่ององค์ประกอบด้านภาษาของเด็กปฐมวัย มีคลิปวีดิโอเด็กฝรั่งพูดภาษาอีสาน และคลิปวีดิโอรายการเด็กเป็นต้น

กลุ่มที่ 10  หลักการจัดประสบการณ์ นำ้เสนอเกี่ยวกับคลิปวีดิโอภาษาธรรมชาติของ ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  การคิด การเรียน การสอนแบบธรรมชาติ อย่าคาดหวังให้เด็กมีการเรียนรู้ที่เหมือนกัน เพราะเด็กมีความแตกต่างกัน ครูต้องบูรณาการทุกอย่างให้เข้ากัน การร่วมมือของทางบ้านและคุณครู ถ้าพื้นฐานการฟังดี การพูดก็จะดีขึ้น การอ่านการเขียนก็จะตามมา การยอมรับในสิ่งที่เด็กพูด เขียน ถึงแม้จะผิดต้องค่อยๆ สอน
  สรุป ภาษาของเด็กไม่มีขอบเขต ถ้าเด็กพูด เขียนไม่ถูกต้อง คุณครูห้ามตำหนิเพราะการเรียนอาจจะสะดุดได้

การนำไปใช้  ทำให้เรารู้และเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเด็กบางคนกล้าแสดงออกเด็กบางคนอายครูจึงต้องมีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กเป็นเด็กที่พร้อมในทุกๆด้านค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น